บริหารจัดการอาคาร: ล้างแอร์ และวิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ

บริหารจัดการอาคาร: ล้างแอร์ และวิธีดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศ ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี เนื่องจากประเทศไทยนั้น ภูมิอากาศ ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น การมีเครื่องปรับอากาศไว้ใช้งานในที่พักอาศัยนั้นทำให้ นอกจากจะลดอุณหภูมิภายในบ้านให้ลดลงแล้ว ยังทำให้อุณภมิเหมาะสมสำหรับการพักผ่อน เมื่อเวลาผ่านไปคุณอาจสังเกตเห็นว่า เครื่องปรับอากาศของคุณทำงานหนักขึ้น

เพื่อให้ได้ระดับความเย็นเท่าเดิม ความเย็นอาจมีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปการ ล้างแอร์ เพื่อทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ล้างแอร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศของคุณให้ยาวนานขึ้นให้และดีขึ้น นั่นหมายถึง นอกจากการล้างทำความสะอาดคอย์เย็นและคอย์ร้อนแล้ว ยังมีขั้นตอนการตรวจเช็คระบบน้ำยา ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนการ ล้างแอร์ และปฏิบัติงาน

คอยล์เย็น (Fan coil Unit)

– เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบดูสภาพการใช้งาน
– ตรวจสอบตําแหน่งและทดสอบเบรกเกอร์ของเครื่องปรับอากาศ
– จัดทำเป็นเอกสาร Check Sheet (ก่อนล้าง)
– ใช้พลาสติกใสคลุมเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงานบริเวณที่พื้นที่การทำงาน
– ถอดหน้ากากเครื่องปรับอากาศ
– ห่อหุ้มเครื่องปรับอากาศโดยใช้พลาสติกใส
– ทำการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อลงบนแผงคอล์ยเย็น
– ล้างคอยล์ยเย็นด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงพร้อมกับทำความสะอาดท่อน้ำ และถาดน้ำเสีย
– ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (Filter)
– เป่าคอยล์ยเย็นและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศให้แห้งโดยใช้เครื่องเป่าลมพัดขดลวดเพื่อระบายความร้อนให้แห้งก่อนทำการประกอบ ขดลวดพัดลม
– ทำการประกอบอุปกรณ์เข้าดังเดิม
– ตรวจเช็คความยึดแน่นของเครื่องปรับอากาศ
– ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า
– จัดทำเป็นเอกสาร Check Sheet (หลังล้าง)

คอยล์ร้อน (Condensing Unit)

– ตั้งนั่งร้านหรือบันไดบริเวณที่ติดตั้งคอยล์ยร้อน
– จัดทำเป็นเอกสาร Check Sheet (ก่อนล้าง)
– ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆของระบบ
– ตัดกระแสไฟฟ้า
– ฉีดล้างด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูง
– ใช้เครื่องเป่าลมพัดคอนเดนเซอร์จนแห้งและประกอบคอนเดนเซอร์
– ตรวจเช็คปริมาณน้ำแอร์ และเติมน้ำยาให้เต็มระบบ (ฟรี** กรณีที่ท่อน้ำยาแอร์ความยาวไม่เกิน 7 เมตร)
– ตรวจเช็คการทำงานของ คอยล์ร้อน (Condensing)
– ทำการรื้อถอนนั่งร้านหรือเก็บอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขึ้นที่สูง
– จัดทำเป็นเอกสาร Check Sheet (หลังล้าง)